ปวดหลัง ปวดบ่า และปวดคอ ต้องรีบรักษา อย่าปล่อยให้เรื้อรัง
อาการปวดหลัง ปวดบ่า และปวดคอ เป็นกลุ่มอาการที่มักจะเกิดขึ้นบ่อยๆ เป็นอาการที่เมื่อเป็นแล้วจะรู้สึกไม่สบายในการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งต้องทำความเข้าใจก่อนว่า อาการปวดหลัง ปวดคอ หรือปวดบ่านั้น ไม่ใช่โรค เป็นกลุ่มอาการของโรค หมายถึงว่าเป็นการแสดงออกของโรคชนิดใดชนิดหนึ่งให้เราทราบ อาการปวดเหล่านี้ เป็นสัญญาณของร่างกาย เพื่อที่จะบอกเราว่า มีปัญหาบางอย่างเกิดขึ้นในร่างกายเรา ให้เรารีบดูแลรักษา และแก้ไขให้อาการปวดนั้นหายอย่างรวดเร็ว ถ้าปล่อยไว้นานๆ อาจจะส่งผลไปทำลายระบบอื่นๆ เช่น ระบบประสาท หรือ ไขสันหลัง ส่งผลให้เกิดโรคเรื้อรังได้ในที่สุด

 

ทำไมเราถึงปวดหลัง ปวดบ่า หรือปวดคอ

อาการปวดมักจะเกิดจากอิริยาบทที่ผิดท่าทางของเรา เช่น การนั่งทำงานเป็นเวลาเดิมนานๆ การเคลื่อนไหวผิดจังหวะ การยกของหนัก น้ำหนักตัวที่หนักเกินไป

 

ต้นเหตุของอาหารปวดหลัง ปวดคอ หรือปวดบ่านี้ มีสาเหตุจากการอักเสบของอวัยวะของร่างกาย ต้นเหตุอาการมักจะเกิดจากการอักเสบจากอวัยวะเหล่านี้ ได้แก่

 

1. เอ็นกล้ามเนื้อ

2. กล้ามเนื้อ

3. ระบบประสาท

4. โครงสร้างร่างกาย ซึ่งเกิดจากท่าทางผิดปกติที่เราใช้กันจนชิน

 

ซึ่งบริเวณหลังถึงคอจะมีทั้ง กล้ามเนื้อ เอ็น ระบบประสาทที่เกี่ยวข้องเยอะมาก ดังนั้น เมื่อมีอาการปวดให้ ตรวจสอบว่าการอักเสบนั้นเกิดที่จุดใด เพื่อที่จะแก้ต้นตอของสาเหตุการปวดได้และหาวิธีรักษาได้อย่างถูกต้อง

 

อาการปวดบ่งบอกถึงอาการอักเสบ

อาการปวดเป็นระบบป้องกันของร่างกาย เพื่อเตือนให้ร่างกายทราบว่า มีอาการบาดเจ็บ โดยกลไกที่ทำให้ปวดนั้นเป็นกลไกของอาการอักเสบของร่างกาย เมื่อมีการบาดเจ็บ ร่างกายจะหลั่งสารที่ทำให้เกิดการอักเสบออกมา ซึ่งสารเหล่านั้นจะเกิดจากการกระตุ้นของเอนไซม์ในร่างกายที่ชื่อว่า cyclooxygenase ส่งผลให้มีการหลั่งสารที่ทำให้อักเสบมากขึ้น ร่างกายจึงมีอาการปวด ยาบางชนิดจะออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ตัวนี้ เพื่อลดการอักเสบ เช่น เมทิลซาลิไซเลท เป็นต้น

 

การดูแลรักษาอาการปวดหลัง ปวดบ่า ปวดคอ

1. การออกกำลังกายสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เป็นพื้นฐานสำคัญที่ทำให้เราสามารถต่อสู้กับ อาการปวดหลังได้ ดังนั้นการออกกำลังกาย นอกจากจะช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรงในการรับมือการแรงกระแทกต่างๆแล้ว ยังฝึกให้กล้ามเนื้อมีความยืดหยุ่น ความยืดหยุ่นนี้สำคัญมาก เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อที่หดตัวสามารถคลายตัวได้เอง ดังนั้น จะไม่มีปัญหาอาการปวดมารบกวน

 

สำหรับผู้ที่มีอาการปวดหลัง หรือมีน้ำหนักเกิน ควรฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและหลัง โดยเริ่มจากการออกกำลังกายชนิดที่เรียกว่า Regular low-impact aerobic activities  หรือการออกกำลังกายที่มีแรงกระแทกน้อยๆ ได้แก่ การเดิน การว่ายน้ำ การปั่นจักรยาน รวมถึง การใช้เครื่องเล่นปั่นจักรยานก็ได้ การออกกำลังกายวิธีนี้ นอกจากจะช่วยให้กล้ามเนื้อฟื้นตัว ยังลดโอกาสเสี่ยงในการอักเสบซ้ำ ระวังการวิ่ง หรือการเต้นแอโรบิก เพราะการออกกำลังกายชนิดนี้ มีโอกาสเสี่ยงต่อการกระแทกสูง กล้ามเนื้ออาจจะกลับมาอักเสบอีกครั้ง

 

2. การจัดท่าทางการเคลื่อนไหว การเคลื่อนไหวที่ผิดรูปร่าง  เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดทั้งอาการปวดหลัง ปวดบ่าและปวดคอ  ดังนั้นควรจัดท่าทางให้เหมาะสม หนึ่งในปัญหาหลักเลย คือ การนั่งทำงานที่ผิดท่า ปกติแล้วท่าที่ควรนั่งทำงานหรือขับรถ ควรจะนั่งเอนไปทางหลังประมาณ 10 องศา เพื่อที่จะให้กล้ามเนื้อแขน และไหล่ ไม่รับแรงกดมากเกินไป การโน้มตัวไปเข้าใกล้คอมพิวเตอร์นั้นจะสร้างแรงกดที่บ่า และไหล่ ทำให้ กล้ามเนื้อหดตัวได้ หรือยิ่งในยุค digital ที่การสื่อสารนั้นเป็นสิ่งสำคัญ​ ท่าทางการพิมพ์ข้อความบนโทรศัพท์มือถือนั้น ควรจะยืดแขนไประยะพอเห็นได้ ให้โทรศัพท์มือถืออยู่ต่ำกว่าระดับสายตาลงมา 15 องศา เพื่อให้เกิดสมดุลของแรงที่ แขน คอ บ่า ไหล่ และหลัง ไม่ควรก้มพิมพ์ข้อความ เพราะจะทำให้หลังและบ่าได้รับแรงเยอะ จะก่อให้เกิดอาการปวดหลัง ปวดบ่าตามมาในที่สุด

 

3. การประคบร้อนและประคบเย็น  การประคบเย็นนั้นจะช่วยลดการอักเสบ เพราะความเย็นจะเข้าไปทำให้ปลายประสาทลดความไวต่อความเจ็บปวด เราจึงรับความรู้สึกจากการเจ็บปวดหรือรู้สึกชาน้อยลง ส่วนประคบร้อนนั้นจะช่วยให้เส้นเลือดขยาย ทำให้เลือดหมุนเวียนไปยังจุดที่มีการบาดเจ็บได้ดีขึ้น และทำให้ระบบการรักษาตัวเองของร่างกายทำงานได้ดีขึ้น เพราะเลือดได้น้ำออกซิเจน และภูมิคุ้มกันต่างๆ เข้าไปช่วยสมานอาการอักเสบได้ และนอกจากนี้ ความร้อนยังช่วยให้กล้ามเนื้อที่หดตัวยืดหยุ่นดีขึ้น และกลับมาอยู่ในภาวะปกติ

 

แล้วจะใช้วิธีไหนดีระหว่างประคบร้อนหรือเย็น

จากข้อมูลเรื่องการประคบร้อนและเย็น

ประคบร้อนมักใช้กับ กรณีกล้ามเนื้ออักเสบหรือหดเกร็ง หรือมีอาการเคล็ด หรือมีอาการที่เกี่ยวกับกล้ามเนื้อ

ประคบเย็นมักใช้กับ กรณีที่เป็นการอักเสบของ เอ็น หรือ เส้นประสาท

 

ข้อมูล: https://www.healthline.com/health/chronic-pain/treating-pain-with-heat-and-cold#takeaway)

 

วิธีการประคบร้อนและเย็นมีความแตกต่าง
การประคบร้อนนั้น มี 2 วิธี คือ แบบสั้น คือใช้เวลาประคบไม่เกิน 20 นาที  มักจะใช้กับอาการเคล็ดขัดยอก เช่น คอเคล็ด หรือไหล่เคล็ด แต่ถ้าเป็นอาการอักเสบกล้ามเนื้อ ต้องใช้วิธีประคบร้อนระยะยาวคือ ตั้งแต่ 30 นาทีถึง 2 ชั่วโมง และรูปแบบการประคบร้อนนั้นยังให้ผลที่แตกต่างกันไปอีก คือ ถ้าใช้พวก heat pad หรือ เป็น dry heat จะให้ผลได้น้อยกว่าเมื่อเทียบกับความร้อนที่มาจากน้ำ หรือ moist heats เช่นพวกถุงน้ำร้อน

 

การประคบเย็นก็เช่นกัน ปกติแล้วการประคบเย็น ต้องระมัดระวังมากกว่าประคบร้อน สิ่งที่เราทำมาผิดวิธีเลย คือ การใช้น้ำแข็งกดไปตรงๆที่บริเวณที่ปวด หรือมีอาการอักเสบ นั่นจะทำให้เกิดเซลล์ตายได้ ควรจะใช้ผ้ามัดก้อนน้ำแข็งอีกทีก่อนจะกดทับลงไป ระยะเวลาที่ประคบนั้น ควรประคบระหว่าง 10-15 นาที แต่ไม่ควรเกิน 20 นาที เพราะจะทำให้เซลล์ผิวหนังตายได้ แต่ควรทำการประคบหลายๆครั้ง แต่ละครั้งควรหยุดทิ้งระยะสัก 5-10 นาที เพื่อให้เซลล์ฟื้นตัว

 

มาถึงสิ่งที่ทุกคนน่าจะสงสัยกันว่า เมื่อเกิดการบาดเจ็บหรือปวดอย่างรุนแรง เราจะประคบร้อนหรือเย็นก่อนดี  ขอแนะนำดังนี้ การประคบเย็นจะได้ผล เมื่อมี 2 ปัจจัยนี้  คือ เมื่อมีการอักเสบ คือ มีอาการ ปวด บวม มีรอยแดง และบริเวณที่ปวดมีอาการอุ่นๆนั้น และปัจจัยที่สองคือ ต้องทำหลังจากมีอาการภายใน 48 ชั่วโมง ส่วนประคบร้อนนั้น จะใช้กับอาการของกล้ามเนื้อหดเกร็ง หรืออาการเคล็ดมากกว่า ซึ่งอาการปวดหลัง ปวดบ่า หรือปวดคอ มักจะเน้นประคบร้อน เพราะมักจะเกี่ยวกับกล้ามเนื้อหดเกร็งมากกว่า

 

ดังนั้นในกรณีที่เกิดทั้งกล้ามเนื้ออักเสบ ควรประคบเย็นก่อน เพราะต้องระงับอาการอักเสบก่อน เพราะการประคบเย็นจะให้ผลดีภายใน 48 ชั่วโมงแรกของการอักเสบ เมื่อยังมีอาการปวดเกร็งหรือตึงตัวของกล้ามเนื้อค่อยประคบร้อน เพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัวและรักษาตัวเอง

 

4. การใช้ยารักษา  โดยปกติแล้วในเบื้องต้น เราอาจจะใช้ยาทาถูนวดเพื่อรักษาอาการปวด ยาทาถูนวด เช่น น้ำมันมวย จะประกอบด้วยส่วนผสมที่ลงตัวเพื่อลดอาการปวดต่างๆ ดังนี้

 

- เมทิลซาลิไซเลท เป็นสารที่ให้ความร้อน ทำหน้าที่ลดการอักเสบโดยการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ในร่างกายที่ก่อให้เกิดการอักเสบ ทำให้อาการปวดลดน้อยลง

 

- เมนทอล เป็นยาที่ให้ความเย็นให้ผลเหมือนการประคบเย็น เพื่อให้เกิดการชาเฉพาะที่ ที่ให้ลดความรู้สึกเจ็บปวดจากการอักเสบ

 

- ยูจีนอล (น้ำมันกานพลู) ให้ผลสองแบบที่เสริมกัน โดยการบูรจะไปออกฤทธิ์ ช่วยกระตุ้นให้ระบบประสาทที่อักเสบไวต่อความร้อนและความเย็น เพื่อเสริมฤทธิ์ให้ทั้งเมทิลซาลิไซเลท และเมนทอล ทำงานได้อย่างเต็มที่ เพื่อลดอาการปวด หรืออาการอักเสบนั้น (คลิกเพื่อดูส่วนประกอบของน้ำมันมวย) ตรงนี้กวนใส่คำว่า แล้วทำ link คำนี้ไปที่หน้า All Products ในส่วนน้ำมันมวยชนิดน้ำด้วยค่ะ

5. การนวด เนื่องจากสาเหตุจากอาการปวดมาจากการหดตัวของกล้ามเนื้อ การนวดจะทำให้เกิดการคลายตัวของกล้ามเนื้อ โดยอาศัยแรงกดลงไปเพื่อให้เส้นใยในมัดกล้ามเนื้อมีความยืดหยุ่นและคลายตัวกลับมาเข้าที่ในที่สุด ลองนึกสภาพของก้อนแป้งโรตีก้อนแข็งๆ เวลาเรานวดลงไปจะทำให้เส้นใยแห้งขยายตัวกลับมาได้ ดังนั้น การนวดจึงเป็นการอาศัยแรงกดไปยังบริเวณกล้ามเนื้อที่ตึงตัวนั้นให้คลายตัวลงและลดอาการเกร็งซึ่งเป็นสาเหตุของอาการปวดลงได้

 

อาการปวดหลัง ปวดบ่า ปวดคอนั้นเป็นอาการที่พบได้บ่อย เมื่อเป็นแล้วต้องรีบดูแลรักษาไม่ควรปล่อยไว้นานเกิน โดยปกติจะมีอาการไม่เกิน 4-6 สัปดาห์ ก็สามารถรักษาหายได้ แต่ถ้าเราทิ้งไว้ให้เป็นนานกว่านั้น หรือมากกว่า 6 เดือน จะทำให้รักษายากขึ้นและที่สำคัญถ้ารักษาเบื้องต้นแล้วไม่หายหรือมีอาการรุนแรงให้รีบปรึกษาแพทย์ เพราะอาการปวดหลัง ปวดบ่า หรือ ปวดคอนั้น อาจส่งสัญญาณสำคัญของโรคร้ายแรงชนิดอื่นตามมา

แชร์เพิ่ม

f

TH

EN

CN

COPYRIGHT All Right Reserved. Devakam Apothecary Hall co., ltd.

71-72 Moo 4, Pimpa Road, Pimpa, Bangpakong, Chachoengsao 24130 THAILAND Tel : (+66)38 522 062