น้ำมันมวย โอสถดี

ของคนไทย

  
    ใครหลายๆคนคงจะรู้จักน้ำมันมวยกันเป็นอย่างดี และเชื่อว่า คนวัย 20 ขึ้นไป ต้องเคยได้ลองใช้น้ำมันมวยสักครั้งหนึ่งในชีวิต บางท่านเริ่มได้มีโอกาสใช้น้ำมันมวยตอนเริ่มเรียนวิชาพละในสมัยเด็ก ตอนนี้ใช้ทานวดแก้ปวดเมื่อยขา ทาแล้วอาการตะคริวหรือเมื่อยขาบรรเทาขึ้น แต่จะมีใครสักกี่คนทราบว่า น้ำมันมวยนี้มีที่มาอย่างไร ทำไม น้ำมันมวยถึงอยู่คู่คนไทยมาอย่างยาวนาน ชนิดที่อยู่ในตู้ยาสามัญประจำบ้านทุกบ้านเลย

80 ที่แล้ว

 น้ำมันมวยนั้น นั้นคิดค้นสูตรโดย บริษัทเทวกรรมโอสถ ก่อตั้งมาแล้วเกือบ 80 ปี โดยมี พันตรีหลวงสิทธิ์โยธารักษ์ (ทองม้วน อินทรทัต) แพทย์แผนปัจจุบันชั้น 1 เป็นผู้ก่อตั้ง

2489

ในขณะนั้น หลวงสิทธิ์โยธารักษ์ได้เปิดคลีนิก และปรุงยาขายหลายขนาน ยาตัวแรกที่มีการปรุงขั้นและจำหน่ายก็คือ ยาประสระนอแรด ซึ่งเป็นยาแก้ไข้ แก้ปวดหัว ในเวลาต่อมา กระทรวงสาธารณสุขเห็นว่าคำ “นอแรด” นั้น ดูเข้าข่ายอวดอ้างสรรพคุณมากเกินไป บริษัทฯจึงเปลี่ยนมาใช้ตัว “บอ” แล้วให้ชื่อใหม่เป็น “ยาประสระบอแรด” ซึ่งยาตำรับนี้มีรสหวานจากน้ำตาลแลคโตสและซัคคารีน ทำให้ทานง่าย จึงเป็นที่นิยมค่อนข้างสูง นอกจากยาประสะนอแรดแล้ว ก็ยังมี ยาอม “กามัน” และยาสีฟัน “โซเลก” ผลิตร่วมกับบริษัท จำปาทอง จำกัด เป็นต้น เมื่อความต้องการยามากขึ้น รวมถึงมีการปรุงยาหลายขนานมากขึ้น หลวงสิทธิ์โยธารักษ์ จึงได้จัดตั้งเป็นบริษัท ที่สะพานเทวกรรม ถนนนางเลิ้ง และได้ตั้งชื่อบริษัทตามที่ตั้ง เป็นชื่อ “บริษัท เทวกรรมโอสถ จำกัด” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

 

2500

ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2500 นายห้างทองทศ อินทรทัต บุตรชายของหลวงสิทธิ์โยธารักษ์ ได้เข้ามาช่วยบิดาบริหารกิจการ นายห้างทองทศเป็นนักธุรกิจที่มีความชื่นชอบในกีฬามวยเป็นอย่างยิ่ง ท่านได้ตั้งค่ายมวยของตนเอง ชื่อค่ายมวย “กิ่งเพชร” ตั้งอยู่ย่านถนนเพชรบุรี เพื่อส่งนักมวยขึ้นชกทั้งมวยไทยและมวยสากล มีนักมวยลูกค่ายหลักๆ อยู่สามคน หนึ่งในนั้นคือ “มานะ สี-ดอก-บวบ” นักชกภูธรจากประจวบคีรีขันธ์ นายห้างทองทศหมายมั่นจะปั้นนักชกมวยสากลคนนี้เป็นแชมป์โลกให้ได้ไม่วันใดก็วันหนึ่ง พร้อมกับตั้งชื่อให้ใหม่ว่า “โผน กิ่งเพชร” ซึ่งชื่อโผนก็มาจากชื่อน้องชายของเขา ซึ่งเสียชีวิตลงเมื่อปี  พ.ศ. 2492

2501

ในช่วงเวลาการฝึกซ้อมและการเตรียมพร้อมร่างกายก่อนขึ้นชกนั้น นักมวยทุกคนจะใช้น้ำมันสะโต๊กในการนวดกล้ามเนื้อก่อนการฝึกซ้อมและการขึ้นชก แต่เนื่องจากน้ำมันสะโต๊กมีความมันมากเกินไป กลิ่นฉุนค่อนข้างรุนแรงและแสบตา นายห้างทองทศ อินทรทัต จึงได้ริเริ่มให้เภสัชกรชั้น 1 ของบริษัทฯ ผลิตน้ำมันสูตรเฉพาะ ซึ่งมีลักษณะเป็นอิมัลชั่นสีขาวขุ่น ฝ้าๆ โดยชั้นน้ำแยกกับชั้นน้ำมันชัดเจน ไว้เพื่อนวดร่างกายให้กับนักมวยในค่ายฯ เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับกล้ามเนื้อก่อนชก และเพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หรือกล้ามเนื้อเคล็ดตึงหลังการชก ทดแทนน้ำมันสะโต๊ก

2503

วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2503 นายห้างทองทศในฐานะผู้จัดการนักมว เดินนำหน้าพาโผนขึ้นชกชิงแชมป์โลกกับ ปาสคาล เปเรส นักชกอเมริกาใต้ ชาวอาร์เจนติน่า ที่ สนามมวยลุมพินี ซึ่งเป็นการชกต่อหน้าพระที่นั่ง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการแข่งขัน แม้ผลการตัดสินเมื่อครบยก นักชกไทยจะชนะคะแนนไม่เอกฉันท์ แต่เหตุการณ์ครั้งนั้นก็ถูกจารึกให้เป็นวันประวัติศาสตร์ โผน กิ่งเพชร ได้กลายเป็นแชมป์มวยโลก รุ่นฟลายเวท 112 ปอนด์ คนแรกของประเทศไทย โดยมีนายห้างทองทศ อินทรทัต เป็นผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จ และวันเดียวกันนี้ ถูกยกให้เป็น “วันนักกีฬาไทย” ในเวลาต่อมา

2505

นอกจากการสร้างแชมป์เปี้ยนโลกประดับค่ายแล้ว สิ่งที่โด่งดังไม่แพ้กัน ก็คือ ยาขนานเอก “น้ำมันมวย”  เพราะแทบทุกค่ายมวยพูดกันปากต่อปาก พลางซื้อหาน้ำมันยี่ห้อนี้มาทา ถู นวด ให้กับนักชกมวยไทยและมวยสากลเป็นการใหญ่ ด้วยหวังจะให้นักสู้บนสังเวียนคว้าแชมป์มาครอบครองประดับค่ายตน เมื่อนักมวยค่ายอื่นๆ ได้ทราบถึงน้ำมันดังกล่าว จึงเกิดความต้องการใช้มากขึ้น ทางบริษัทฯ จึงทำการพัฒนาสูตรและปรับสีจากขาวขุ่น เป็นสีเหลือง ให้มีความน่าใช้เพิ่มขึ้น และมีกลิ่นเป็นเอกลักษณ์ และในปี 2505 บริษัทฯได้จดทะเบียนเพื่อผลิตและจำหน่ายน้ำมันสูตรเฉพาะนี้ ภายใต้ชื่อ "น้ำมันมวย"

ทุกวันนี้


ด้วยคุณภาพและสรรพคุณที่โดดเด่นของ "น้ำมันมวย" จึงได้มีการพูดกันปากต่อปาก ทำให้ "น้ำมันมวย" ถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลาย ไม่ใช่เฉพาะในหมู่นักมวย ซึ่งใช้สืบทอดกันมาถึง "บัวขาว" เท่านั้น แต่รวมไปถึงนักกีฬาประเภทอื่นๆ เช่นนักวิ่ง นักฟุตบอล วงการสปา และบุคคลทั่วไปอีกด้วย

"น้ำมันมวย ผลิตภัณฑ์บรรเทาปวดเพื่อทุกกิจกรรมสำหรับทุกคน”

COPYRIGHT All Right Reserved. Devakam Apothecary Hall co., ltd.

71-72 Moo 4, Pimpa Road, Pimpa, Bangpakong, Chachoengsao 24130 THAILAND Tel : (+66)38 522 062